วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2559

เทอร์โบ



เกร็ดความรู้เรื่องเทอร์โบ

                เทอร์โบคืออุปกรณ์ในห้องเครื่องที่มีหน้าที่ “อัด” อากาศเข้าห้องให้มากขึ้น เมื่อมีอากาศมากและน้ำมันฉีดหนามากขึ้น จะส่งผลให้การจุดระเบิกในห้องเผาไหม้มีความรุนแรงขึ้น และนั่นก็คือเหตุผลว่าทำไมพละกำลังของเครื่องยนต์จึงมีมากขึ้นตามลำดับ
                ส่วนประกอบของระบบอัดอากาศประเภทเทอร์โบนอกเหนือจากเทอร์โบนั้น มีเวสเก็ต ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมแรงดันอากาศไม่ให้มีมากเกินไป, โบลวอ็อฟ มีไว้สำหรับป้องกันเทอร์โบเสียหายในขณะที่เรากดคันเร่ง ตัวโบลวอ็อฟจะทำหน้าที่คายแรงดันส่วนเกินที่ไหลย้อนกลับเทอร์โบออก ซึ่งป้องกันไม่ให้เทอร์โบพัง, อินเตอร์คูลเลอร์ มีหน้าที่ลดอุณหภูมิของไอดีก่อนไหลเข้าเครื่องยนต์ เพิ่มความหนาแน่นของอากาศ ทำให้การจุดระเบิดมีประสิทธิภาพดีขึ้น
                ใบเทอร์โบ หรือ Trim เป็นส่วนประกอบชนิดหนึ่งที่มีผลต่อความแรงของเครื่องยนต์ แต่การปรับเปลี่ยนค่าทริมจะส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงการไหลของอากาศเท่านั้น
                A/R Ratio คือค่าโข่งของเทอร์โบ ใช้สำหรับการเลือกเทอร์โบใส่เครื่องยนต์ ค่า A/R Ratio มีทั้งฝั่งของไอดีและไอเสีย ซึ่งเป็นตัวที่จะบ่งบอกว่าเทอร์โบตัวนี้เหมาะสมหรือไม่กับเครื่องของเรา
                โข่งไอดี ถ้ามีในเทอร์โบที่ซื้อมาอยู่แล้วจะไม่มีตัวเลือกมากนัก เพราะส่วนใหญ่จะมีการเซ็ตค่าไว้ให้แล้ว ส่วนโข่งไอเสีย ถือว่าเป็นตัวสำคัญเพราะถ้าเลือกโข่งเล็ก (A/R น้อย) จะทำให้การไหลของอากาศมีความเร็วมากขึ้น แต่ถ้าโข่งใหญ่ จะส่งผลให้ต้องใช้ไอเสียจำนวนมาก ทำให้เครื่องยนต์บูสต์ช้า
                นี่คือเกร็ดความรู้เล็กน้อยของเทอร์โบ เพราะอันที่จริงแล้วการจะเลือกซื้อหรือใส่เทอร์โบนั้นมีความละเอียดกว่านี้มาก ซึ่งสำหรับผู้ที่สนใจจริงๆ ควรศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมหรือสอบถามข้อมูลอื่นได้จากมืออาชีพ

 

เลือกขนาดเทอร์โบอย่างไรให้เหมาะสม

                องค์ประกอบสำคัญของการเลือกเทอร์โบคือดูที่ปริมาตรความจุกระบอกสูบ และต้องเลือกให้เหมาะสมทั้งด้านกังหันไอดีและกังหันไอเสีย

                กังหันไอดีต้องสามารถประจุไอดีได้เพียงพอต่อความต้องการของเครื่องยนต์ และกังหันไอเสียต้องมีขนาดที่พอเหมาะ ถ้ามีขนาดเล็ก ถึงจะบูสท์เร็วแต่ก็ขัดขวางการไหลของไอเสีย ถ้าใหญ่เกินไปก็จะทำให้ไอเสียปั่นกังหันไอเสียได้รอบการหมุนต่ำ ทำให้กังหันไอดีหมุนช้าไปด้วย ทำให้บูสท์ได้ช้าและน้อย กังหันไอเสียที่มีขนาดเท่ากันจะสามารถกำหนดอัตรารอบการหมุนได้ว่าจะให้ช้าหรือเร็ว ถึงแม้ว่ามวลไอเสียจะเท่าเดิม แต่สามารถปรับเปลี่ยนรอบของกังหันไอเสียได้ด้วย A/R Ratio


                A/R Ratio คืออัตราส่วนคอคอดภายในโข่งไอเสีย เป็นตัวกำหนดความเร็วรอบการหมุนของกังหันไอเสีย ซึ่งมีผลต่อการบูสท์ด้วยว่าจะมาเร็วหรือช้า โดยการเปลี่ยนคอคอดหรือ A/R Ratio นั้นจะทำให้ไอเสียมีความเร็วหรือช้าแตกต่างกันไปตามขนาดของคอคอด ถ้าหาก A/R Ratio สูงเกินไป คอคอดใหญ่ การบูสท์เทอร์โบจะช้าแต่ความร้อนสะสมในตัวเทอร์โบจะน้อย ซึ่งการระบายของไอเสียจะไม่เกิดแรงดันย้อนกลับมาก ถ้าคอคอดเล็กหรือค่า A/R Ratio ต่ำเกินไป จะมีการบูสท์ที่รวดเร็ว แต่ว่าความร้อนสะสมในตัวเทอร์โบจะสูงและเกิดแรงย้อนกลับในระบบไอเสียมาก ถึงแม้จะมีการตอบสนองดี แต่เครื่องยนต์จะกำลังตกในรอบสูง
ดังนั้น การคำนวณหาขนาดที่เหมาะสมของเทอร์โบและ A/R Ratio มีความละเอียดอ่อนมาก ต้องมีการคำนวณหาตัวเลขอย่างถี่ถ้วน แต่ในที่สุดถ้าเกิดไม่สามารถหาขนาดเทอร์โบตามที่คำนวณออกมาได้ ก็ต้องอาศัยการดัดแปลงตามที่มีให้
อ้างอิงจาก 
http://www.mengheader-turbo.com/

ข้อแนะนำการใช้และบำรุงรักษา

•กว่า 60 % ของเทอร์โบที่มีความเสียหายมักจะเกิดจากระบบน้ำมันหล่อลื่น และอีกกว่า 30% เกิดจากสิ่งแปลกปลอมเข้าไปกระแทกใบพัดไอดีหรือไอเสีย
•อายุของเทอร์โบขึ้นอยู่กับการบำรุงรักษาและเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องและไส้กรองอากาศ
•หลีกเลี่ยงการขาดน้ำมันหล่อลื่นของเทอร์โบ หลังสตาร์ทเครื่องยนต์ ควรเดินเบาสัก 2-3 นาที ก่อนเริ่มใช้งานเพื่อให้น้ำมันหล่อลื่นเข้าเลี้ยงชิ้นส่วนภายในเทอร์โบก่อน
•หลีกเลี่ยงการดับเครื่องยนต์โดยทันที ควรปล่อยเดินเบาสัก 2-3 นาที เพื่อให้น้ำมันเครื่องเย็นตัวลงก่อนดับเครื่อง 

เนื่องจากเทอร์โบชาทเจอร์มีรอบการทำงานกว่าแสนรอบต่อนาที ดังนั้นจึงจำเป็นต้องได้รับการซ่อมบำรุงตามอายุจากการสึกหรอของบู๊ชแหวนและกันรุน หากเทอร์โบมิได้รับการซ่อม โดยการเปลี่ยนชุดซ่อมตามกำหนด 400,000-800,000 กม. สำหรับรถบรรทุกและรถบัส(400,000 กม. สำหรับเครื่องยนต์ญี่ปุ่นและ 800,000 กม. สำหรับเครื่องยนต์ยุโรป), 100,000-150,000 กม. สำหรับรถปิคอัพดีเซล, 5,000-6,000 ชม. ในเครื่องจักรก่อสร้างหรือเครื่องอุตสาหกรรม) เมื่อกันรุนหรือบู๊ชสึกเกินพิกัดใบพัดไอดีและไอเสียจะรุนจนเสียดสีกับโข่งจนสึกหรอไม่สามารถซ่อมแซมต้องเปลี่ยนไส้กลางหรือเทอร์โบใหม่ทั้งลูกเมื่อบู๊ชหลวมจะทำให้เทอร์โบไม่สามารถทำรอบและอัดอากาศเข้าเครื่องยนต์ได้เพียงพอทำให้เกิดควันดำ ไม่มีกำลังและสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงโดยใช่เหตุ

ท่านสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายเหล่านี้ด้วยการถอดเทอร์โบมาตรวจเช็คและซ่อม โดยการเปลี่ยนชุดซ่อม ด้วยค่าใช้จ่ายไม่เกินหมื่นบาท เมื่อเกิดความเสียหายมากแล้ว ก็จะไม่คุ้มการซ่อมจำเป็นต้องเปลี่ยนไส้กลางหรือเทอร์โบใหม่

หลีกเลี่ยงการซ่อมเทอร์โบเองหรือส่งร้านซ่อมทั่วไปซึ่งไม่มีเครื่องมือพิเศษและอะไหล่แท้เพราะอายุการใช้งานจะใช้ได้เพียงระยะสั้นไม่คุ้มค่าใช้จ่าย และไม่มีรับประกันกับผลงานการซ่อม

หลีกเลี่ยงการใช้เทอร์โบเก่าหรือมือสองและเทอร์โบปลอมจากจีนและไต้หวัน นอกจากอายุการใช้งานที่สั้นสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงกว่าที่ควรเป็น รวมถึงอาจสร้างความเสียหายให้กับเครื่องยนต์ของท่าน ดังนั้นการซ่อมเทอร์โบเมื่อถึงอายุการใช้งานจะเป็นวิธีที่ประหยัดที่สุดสำหรับท่าน 
ตัวอย่างความเสียหายของเทอร์โบที่พบได้บ่อยๆ

น้ำมันเข้าช้า หรือ เข้าไม่ทัน
 
•บู๊ช : เกิดรอยสึกที่ผิว ซึ่งอาจเป็นทั้งด้านใน หรือ ด้านนอก หรือ ทั้ง 2 ด้าน จนเห็นได้ชัด 
•กันรุน : เกิดรอยสึกที่ผิวกันรุน.

สาเหตุอาจเกิดมาจาก
•ท่อน้ำมันไหลเข้าอุดตัน 
•ระดับน้ำมันเครื่องต่ำเกินไป 
•ปั๊มน้ำมันเครื่องหลวม หรือ ไม่สมบูรณ์ 
•ไส้กรองน้ำมันเครื่องตัน 
•ไม่ได้ใช้เครื่องยนต์มาเป็นเวลานาน หรือ เพิ่งโอเวอร์ฮอลเครื่องยนต์ใหม่ 
•ขาดการเติมน้ำมันเข้าไส้กรองหลังการเปลี่ยนไส้กรองน้ำมันเครื่อง 
•เร่งเครื่องยนต์อย่างรุนแรง หลังสตาร์ท หรือ ก่อนดับเครื่องยนต์

การขาดน้ำมันหล่อลื่น
 
•แกนไอเสีย : บริเวณแกนไอเสียจะเกิดการเปลี่ยนสีเนื่องจากความ ร้อนที่เสียดสี ในช่วงขาดน้ำมัน 
•บู๊ช : เกิดการสึกหรอและมีรอยไหม้อย่างรุนแรง 
•กันรุน : เกิดการสึกหรอและมีรอยไหม้

สาเหตุอาจเกิดมาจาก
•ท่อน้ำมันเข้าอาจแตกร้าวหรืออุดตันอย่างมาก 
•ระดับน้ำมันเครื่องต่ำมาก หรือ ขาดน้ำมันหล่อลื่น 
•ปั๊มน้ำมันเครื่องเสียหาย หรือหลวมจนสร้างแรงดันไม่เพียงพอ 
•กรองน้ำมันเครื่องตัน 
•ทางเดินน้ำมันในเสื้อกลางเทอร์โบเกิดการอุดตัน เนื่องจากการเกิดตะกรันของคราบน้ำมัน ซึ่งมีสาเหตุมาจาก การดับเครื่องยนต์โดยทันทีและ น้ำมันเครื่องสกปรก 

น้ำมันเครื่องสกปรก

  
•แกนไอเสีย : เกิดเป็นรอยเส้นที่ตัวแกนอย่างชัดเจน 
•เสื้อกลางเทอร์โบ : เกิดรอยสึกเป็นเส้นอย่างชัดเจน 
•บู๊ช : เกิดเป็นรอยสึกเป็นเส้นทั้งผิวด้านนอก และ ด้านใน 

สาเหตุอาจเกิดมาจาก
•ไส้กรองน้ำมันเครื่องอุดตัน เพราะไม่สนใจในระยะเวลาที่ต้องเปลี่ยน 
•ฝุ่นสามารถเข้าภายในเครื่องยนต์ในช่วงการซ่อม หรือ ช่วงการบำรุงรักษา 
•ใช้ไส้กรองน้ำมันเครื่องไม่ถูกต้อง รูกระดาษใหญ่เกินไป 
•น้ำมันเครื่องเกิดตะกรันเนื่องจากการเกิด โอเวอร์ฮีท 
•ภายในท่อน้ำมันเครื่องสกปรกมาก ในช่วงการเปลี่ยนเทอร์โบ 
•เศษโลหะเกิดจากการสึกหรอของชิ้นส่วนเครื่องยนต์ 
•เกิดการตกค้างของเศษโลหะหลังการโอเวอร์ฮอล ในก้นอ่าง ซึ่งอาจมิได้ทำความสะอาดอย่างเพียงพอ 

การเกิดโอเวอร์ฮีท Over Heating 
  
•แกนไอเสีย : เกิดการสะสมของตะกรัน 
•เสื้อกลางเทอร์โบ : เกิดตะกรันภายในเสื้อกลาง ทำให้ทางเดินน้ำมันอุดตัน 
•โข่งไอเสีย : เกิดบวมและแตกร้าว โดยเฉพาะบริเวณ ร่องแบ่งกลาง 

สาเหตุอาจเกิดมาจาก
•อุณหภูมิไอเสียสูงเกินไป 
•อุณหภูมิน้ำมันเครื่องสูงเกินไป 
•ดับเครื่องยนต์โดยทันทีหลังการใช้งานมาอย่างหนัก 
•ไส้กรองอากาศอุดตัน 
•เกิดตะกรันจากน้ำมันเครื่อง เนื่องจากใช้น้ำมันคุณภาพต่ำ

การไม่บาล๊านซ์ Rotor Unbalance

•แกนไอเสีย : เกิดการสึกที่ไม่เสมอที่ผิว รวมถึงเพลาคด 
•บู๊ช : เกิดการสึกไม่เรียบที่ผิว 
•ใบพัดไอดี และ ใบพัดไอเสีย : ใบพัดเกิดการเสียดสีกับโข่ง 

สาเหตุอาจเกิดมาจาก
•ใบพัดไอดี หรือ ใบพัดไอเสียเสียหาย 
•การไม่บาล๊านซ์ของแกนไอเสีย และ ใบพัดไอดี 
•ใบพัดไอดี และ แกนไอเสียไม่มีการบาล๊านซ์ 
•ใช้อะไหล่ที่ไม่ถูกต้อง 

สิ่งแปลกปลอมภายนอก 

ควรหยุดการใช้เครื่องยนต์ หากได้ยินเสียงผิดปกติ หรือ สงสัยว่าเทอร์โบอาจเกิดความไม่ปกติ
•ควรตรวจเช็คเครื่องยนต์ตามระยะที่กำหนด 
•เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องและไส้กรองน้ำมันเครื่องตามระยะที่กำหนด 
•ตรวจเช็คทำความสะอาดและเปลี่ยนไส้กรองอากาศตามกำหนด 
•ในการซ่อมเทอร์โบ ควรจะต้องมีการบาล๊านซ์ แกนไอเสีย และ ใบพัดไอดี 
•ปฏิบัติตามข้อแนะนำในการติดตั้งเทอร์โบ 
**** ข้อมูลอ้างอิงจาก บริษัท เวิลด์เทคเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด 
         http://www.worldtech.co.th/?act=suggestion


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น